1. ประวัติของมาตราฐาน
ISO/IEC 15504 คือ มาตรฐานสากลซึ่งใช้สำหรับประเมินค่าการดำเนินการพัฒนาซอฟต์แวร์ซึ่งเผยแพร่ครั้งแรกในปี คศ. 1998 ซึ่งต่อมาถูกเผยแพร่อีกครั้งโดยเป็นมาตรฐาน ISO/IEC 15504 ในปี คศ. 2003/2005
ถูกก่อตั้งขึ้นในปี1993 เป็นการร่างมาตรฐานสากลและใช้ตัวย่อ SPICE SPICE โดยย่อมาจาก "Software Process Improvement and Capability Evaluation" แต่ภายหลังถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "Software Process Improvement and Capability Determination"
แม้ว่าชื่อทางการของมาตราฐาน ISO นี้ในปัจจุบันคือ ISO 15504 แต่ในอดีต SPICE จะถูกอ้างถึงจากการประชุมประจำปีตามกลุ่มผู้ใช้มาตรฐา และชื่อของการประชุมประจำปี โดย SPICE ครั้งแรกจัดทำใน Limerick ,Ireland ในปี2000 ปี2003จัดทำในNetherlands ปี2004จัดทำใน Portugal ปี2005จัดทำในAustria ปี2006จัดทำในLuxembourg ปี2007จัดทำในSouth Korea ปี2008จัดทำในNuremberg, Germany and ปี2009 จัดทำในHelsinki, Finland
2.วัตถุประสงค์ของมาตราฐาน
แรกเริ่มถูกตั้งขึ้นเพื่อเน้นเฉพาะกับกระบวนการการพัฒนาซอฟต์แวร์ แต่ปัจจุบันได้ขยายให้ครอบคลุมถึง กระบวนการที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในธุรกิจซอฟต์แวร์ เช่น การบริหารโครงการการ การจัดการ การติดตั้ง และการ ประกันคุณภาพ โดยมีกระบวนครอบคลุมถึง 6 ด้านธุรกิจ คือ
- organizational
- management
- engineering
- acquisition supply
- support
- operations
ISO15504ใช้ประเมินค่าการดำเนินงานเพื่อระบุถึงจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรและใช้ข้อมูลที่ได้มาทำการวางแผนพัฒนาปรับปรุง การปรับปรุงการดำเนินการนี้อยู่บนพื้นฐานของผลการประเมินค่าการดำเนินการ ประสิทธิภาพในการดำเนินการ ความสามารถและเป้าหมายขององค์กร
3.หลักพื้นฐานของมาตราฐาน
3.1. การตรวจสอบการประเมินผลยึดหลักที่ว่ากระบวนการของ framework model ต้องมีอะไรมากกว่าจะทำยังไงให้สำเร็จ
3.2. ทำการแบ่งประเภทของ software suppliers and customers เพื่อง่ายต่อการบริหารจัดการในการพัฒนาซอฟต์แวร์
3.3. เพื่อให้ผลการดำเนินงานเป็นไปตามมาตราฐานสากลโดยขจัดการประเมินผลที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า4.โครงสร้างของมาตราฐาน
รูปภาพที่ 1 : โครงสร้างสถาปัยกรรมของมาตราฐาน ISO/IEC 15504
4.1.ระดับการพิจารณาความสำเร็จของมาตราฐาน
Grade
Rating
Achievements
F(Fully achieved)
ประสบความสำเร็จมาก
86-100%
ระบบสมบูรณ์หรือประสิทธิภาพ เกือบ เสร็จสมบูรณ์
L (Largely achieved)
ประสบความสำเร็จพอสมควร
51-85%
ระบบมีความสำเร็จแต่บางส่วนมีประสิทธิภาพต่ำ
P (Partially achieved)
ประสบความสำเร็จบางส่วน
16-50%
สำเร็จบางส่วน ไม่มีการควบคุมกระบวนการ
N (Not achieved)
ไม่สำเร็จ
0-15%
สำเร็จน้อยหรือไม่สำเร็จ
5.เนื้อหาของมาตราฐาน
ISO/IEC 15504 ประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ ภายใต้ชื่อ Information Technology - Software Process Assessment: ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้
Part 1 : แนวคิดและคำแนะนำขั้นพื้นฐาน
Part 2 : แบบจำลองอ้างอิงเพื่อการประมวลผลและความสามารถในการประมวลผล
Part 3 : นำการประเมินค่าที่ได้มาทำการปฏิบัติ
Part 4 : แนวทางในการปฏิบัติการจากการประเมินค่า
Part 5 : แบบจำลองการประเมินค่า
Part 6 : คำแนะนำสำหรับความสามารถของผู้ทำการประเมิน
Part 7 : คำแนะนำสำหรับใช้ในการพัฒนาโปรเซส
Part 8 : คำแนะนำสำหรับใช้ในการกำหนดความสามารถในการประมวลผลของผู้จัดหา
Part 9 : คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
6. กระบวนการการทำงานของมาตราฐาน
กระบวนการการทำงานของมาตราฐานมี 8 ขั้นตอนสำหรับใช้ในการพัฒนาการประมวลผลซอฟต์แวร์
6.1. พิจารณาสิ่งที่จำเป็นสำหรับองค์กร (Examine)
การพิจารณาคือขั้นตอนที่จะนำไปสู่วงจรการดำเนินการการปรับปรุงโดยมีจุดมุ่ง หมายเพื่อ สร้างและระบุเป้าหมายสำหรับการปรับปรุงโปรแกรม ซึ่งเป้าหมายคือประสิทธิภาพของการดำเนินการหรือไม่ก็ความสามารถในการดำเนิน การที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือรวมกันทั้งสองอย่างซึ่ง การพิจารณามี 4 ขั้นตอนดังนี้
6.1.1) วิเคราะห์สิ่งที่จำเป็นสำหรับองค์กร และมีความกระตือรือร้นในการปรับปรุง
6.1.2) ระบุและกำหนดจุดประสงค์สำหรับการดำเนินการการปรับปรุง
6.1.3) จัดลำดับความสำคัญสำหรับจุดประสงค์ในการดำเนินการการปรับปรุง
6.1.4) สร้างความตระหนักในด้านการบริหารสิ่งที่จำเป็นในการปรับปรุงโปรแกรม
สิ่ง ที่จำเป็นสำหรับองค์กรนั้นอาจได้มาจากงานที่ได้รับมอบหมาย ทัศนวิสัย เป้าหมายด้าน ธุรกิจขององค์กร การประเมินค่าร่วมกัน การแจกจ่ายข้อมูล เป็นต้น สำหรับแรงกระตุ้นในการ ปรับปรุงการดำเนินการอาจมาจากแหล่งข้อมูลภายในหรือภายนอกซึ่งมีขอบเขตมาจาก การใช้ทรัพยากรร่วมกันทางการตลาดผ่านความต้องการในด้านการจัดการและความพึง พอใจ การวิเคราะห์โปรแกรมที่จะพัฒนานั้นอยู่บนพื้นฐานขององค์กรและความจำเป็นทาง ธุรกิจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ค่อนข้างจำเป็นสำหรับการประมวลผล
6.2. เริ่มกระบวนดำเนินการการปรับปรุงการ (Initiate)
วงจรที่แท้จริงจะเริ่มจากขั้นนี้ ซึ่งการดำเนินการปรับปรุงโปรแกรมจะถูกวางแผน ซึ่ง จุดประสงค์ของการวางแผนเพื่อแนะนำโปรแกรม และการใช้เครื่องมือสำหรับติดตามความ ก้าวหน้า ซึ่งแผนที่ควรคลอบคลุมสิ่งเหล่านี้
6.2.1) ภูมิหลังและประวัติที่เกี่ยวข้องกัน
6.2.2) สถานะปัจจุบัน ควรมีความชัดเจนในการระบุค่าที่เกี่ยวกับตัวเลข
6.2.3) เป้าหมายการปรับปรุงคือ เป้าหมายที่ได้จากการวิเคราะห์สิ่งที่จำเป็นขององค์กรและ
เป้าหมายทางธุรกิจ
6.2.4) ขอบเขต ระบุขอบเขตการปรับปรุงเบื้องต้นรวมทั้งองค์กรและวิธีการดำเนินการ
6.2.5) การดำเนินการ : บทสรุปของขั้นตอนการดำเนินการการปรับปรุง
6.2.6) ทรัพยากรที่จำเป็น
6.2.7) พิจารณาใจความสำคัญ
6.2.8) การจัดการความเสี่ยง : ระบุความเสี่ยงที่เกี่ยวกับการปรับปรุง
6.2.9) ข้อมูล/การสื่อสาร : เก็บข้อมูลทั้งหมดที่มีผลต่อการแจ้งให้ทราบถึงความก้าวหน้าในการปรับปรุง 6.3. วางแผนและทำการประเมินค่า (Assess)
ขั้นตอนที่สองของวงจรสำหรับสร้างฐานของการดำเนินการแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ เปรียบเทียบข้อมูลการประเมินค่า และจัดการการดำเนินการประเมินค่าการเปรียบเทียบข้อมูลการประเมินค่า จะระบุข้อมูลนำเข้าที่จำเป็นต่อการทำการดำเนินการประเมินค่าซอฟต์แวร์ซึ่ง อธิบายใน ISO 15504-3 สำหรับหัวข้อที่ควรนำมาพิจารณา คือ ผู้ให้การสนับสนุน ความสามารถของผู้ทำการประเมินค่า จุดมุ่งหมายของการประเมินค่า
ขอบเขตการประมาณค่า และข้อจำกัดในการประเมินค่า
การจัดการการดำเนินการประเมินค่า เป็นการเริ่มนำข้อมูลมาใช้สำหรับการประเมินค่าและการสื่อสารข้อมูลที่สำคัญ ในการดำเนินการ การบันทึกการประเมินค่าและการเพิ่มขึ้นของข้อมูลเช่น การฝึกฝน ความชำนาญเกี่ยวกับการเลือกวิธีการจัดการและเครื่องมือ วัฒนธรรมและองค์กรที่มีผลกระทบต่อการปรับปรุงโปรแกรม และการฝึกฝนในสิ่งที่จำเป็น
6.4. วิเคราะห์ผลและแผนที่ได้รับ (Analyse)
ในการวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างการประเมินค่านั้น ควรถูกวิเคราะห์และถูกจัดลำดับความสำคัญในแง่ความจำเป็นสำหรับองค์กร จุดมุ่งหมายสำหรับการวิเคราะห์เพื่อกำหนดบริเวณในการปรับปรุง จัดเตรียมเป้าหมายที่เกี่ยวกับคุณภาพเพื่อการดำเนินการ จัดเตรียมเป้าหมายสำหรับการปรับปรุงที่เกี่ยวกับปริมาณและแผนปฏิบัติที่ได้ รับมา ขั้นตอนนี้จะให้รายละเอียดมากกว่าขั้นตอนอื่น ๆ โดยสามารถแบ่งหน้าที่ออกเป็น 4 หน้าที่ ดังนี้
6.4.1) กำหนดและจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่ที่จะทำการปรับปรุง
- วิเคราะห์ผลการประเมินค่า
- วิเคราะห์ความจำเป็นขององค์กรและเป้าหมายในการปรับปรุง
- วิเคราะห์ประสิทธิภาพของมาตรวัดผล
- วิเคราะห์ความเสี่ยงของความผิดพลาดในการปรับปรุง
- จัดทำรายการบริเวณที่มีการปรับปรุง
6.4.2) ระบุจุดมุ่งหมายและตั้งเป้าหมาย
6.4.3) ทำตามแผนที่ได้รับ
6.4.4) ปรับปรุงแผนโปรแกรมและยอมรับการอนุมัติ
6.5 พัฒนาปรับปรุง (Implement)
ขั้นตอนถัดไปคือเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาซึ่งทำการปรับปรุงหรือเริ่มการ ดำเนินการ ซึ่ง การดำเนินการโครงการนั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของขั้นตอนก่อนหน้า โครงการอาจครอบคลุมไป ยังสองขั้นตอนถัดไป (confirm และ sustain) ซึ่งจะต้องแน่ใจได้ว่าความก้าวหน้าของโครงการต้อง ถูกวางแผน จุดประสงค์และเป้าหมายต้องมีความเชื่อถือได้และมีความสมเหตุสมผลกับ องค์กร ผลกระทบการประเมินผลข้อมูลโครงการและประสบการณ์ในการปรับปรุง การวางแผนและการดำเนินการเพื่อทำการปรับปรุงโครงการในอนาคตให้ดีขึ้น ในการปรับปรุงโครงการมีหน้าที่ดังนี้
6.5.1) เลือกเครื่องมือสำหรับใชัจัดการการปฏิบัติงาน
6.5.2) เปรียบเทียบและยอมรับข้อมูลการวางแผนการปฏิบัติงาน
6.5.3) ดำเนินการปรับปรุง
6.6. การรับรอง (Confirm)
จุดประสงค์ของขั้นนี้คือการรับรองผลของโครงการปรับปรุงและการจัดการที่เกี่ยวข้องเพื่อ การอนุมัติและพิจารณาผล ซึ่งมีลักษณะ ดังนี้
6.6.1) เป้าหมายสำหรับโครงการ
6.6.2) การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในองค์กร
6.6.3) ความเสี่ยงในการใช้การปรับปรุงโปรเซสในอนาคต
6.6.4) ราคาและกำไรในการปรับปรุง
ขั้นตอนนี้เริ่มต้นการประเมินค่าการดำเนินการถัดไปเพื่อเป็นการยืนยันว่า สามารถทำได้ สำเร็จตาม เป้าหมาย ขอบเขตของการประเมินค่าอาจต้องมีการจัดทำใหม่ เพื่อการปรับปรุงขอบเขตหรือมุ่งจุดสนใจไปที่ขอบเขตของการปรับปรุง หรือการยืนยันผลลัพธ์ของหลาย ๆ โครงการ
6.7. การดำรงไว้ซึ่งเกณฑ์ในการปรับปรุง (Sustain)
การดำเนินการที่ถูกทำให้ดีขึ้นต้องรักษาไว้ซึ่งประสิทธิภาพ รวมถึงการพัฒนาการดำเนินการต้องสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในองค์กรทั้งหมด การตรวจสอบองค์กรเป็นสิ่งจำเป็นต้องกระทำเพื่อปรับปรุงการดำเนินการ การตรวจสอบนี้ต้องทำการระบุหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจน โปรเซสควรมีการทดสอบและตรวจสอบในบริเวณที่กำหนด การวางแผนในส่วนของการปรับปรุงการดำเนินการหรือการวางแผนโปรแกรมเป็นสิ่งที่ สมควรไม่ว่าองค์กรไหนก็ตาม การวางแผนควรครอบคลุมถึงสิ่งเหล่านี้
6.7.1) ขอบเขต : ดูว่าใครได้รับผลกระทบบ้าง
6.7.2) การสื่อสาร : มีการสื่อสารสำหรับการเปลี่ยนแปลงการดำเนินการอย่างไร
6.7.3) การศึกษา : การศึกษาและการฝึกฝนในเรื่องใดที่จำเป็นสำหรับการนำไปใช้
6.7.4) การวางแผน : ถ้าแผนงานมีการเปลี่ยนแปลงต้องมีการคำนวนใหม่อย่างไร
6.7.5) การรับรอง : จะแน่ใจในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างไร เช่น การดำเนินการสามารถนำมาใช้ได้อย่างสมบูรณ์จริงหรือไม่
6.7.6) การกระทำ : จะแน่ใจได้อย่างไรว่าโปรเซสที่ถูกปรับปรุงเป็นไปตามที่คาดหวังไว้
6.8. ติดตามผล (Monitor)
ขั้นสุดท้ายของวงจรคือการตรวจสอบประสิทธิภาพการประมวลผลซอฟต์แวร์ขององค์กร อย่าง ต่อเนื่อง ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้ายของวงจร โดยขั้นตอนนี้จะทำการจัดหาสถานะ เริ่มต้น (initiate) เพื่อทำกระบวนการซ้ำต่อไป เป้าหมายของการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่ามี การปรับปรุงโปรแกรมอย่างต่อเนื่อง โดยนำสิ่งที่เป็นไปได้มาใช้สำหรับปรับปรุง การดำเนินการโครงการใหม่ที่จะเกิดขึ้น
การตรวจสอบมี 2 ลักษณะที่จำเป็น คือฅ
6.8.1) ประสิทธิภาพของการประมวลผลซอฟต์แวร์
6.8.2) การดำเนินการปรับปรุงโปรแกรม
รูปภาพที่ 2 : กระบวนการการทำงานของมาตราฐาน ISO/IEC 15504 8 ขั้นตอน
ประสิทธิภาพการประมวลผลซอฟต์แวร์ขององค์กรจะต้องมีการสังเกตขั้นพื้นฐาน อย่างต่อเนื่องเมื่อมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลง ซึ่ง ISO 15504-7 จะให้ข้อเสนอแนะที่เหมาะสมและมาตรวัด ที่สอดคล้องกันและมาตรวัดนั้นควรมีการตรวจสอบเป็นครั้งคราวตามความเหมาะสม นอกจากนี้ควรมีการตรวจสอบความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ของผลิตภัณฑ์และการ ดำเนินการขององค์กรเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงความต้องการ ควรจัดให้มีการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง การดำเนินการปรับปรุงโปรแกรมนั้น ควรทำการตรวจสอบโดยการจัดการขั้นพื้นฐาน เพื่อให้แน่ใจถึงจุดมุ่งหมายและเป้าหมายของโปรแกรม
7. องค์กรในประเทศไทยที่ผ่านมาตราฐาน ISO/IEC 15504
บริษัทต้นแบบที่ได้รับการรับรอง TQS และผ่านการตรวจประเมินมาตรฐาน ISO/IEC 15504 แล้ว 4 บริษัท คือ ล็อกซเลย์, เอ็ม เอฟ อี ซี, โตโยต้า ซูโซ และไทยคอมแมเนจเม้น กรุ๊ป